ทะเบียนทั่วไป |
|
ทะเบียนครอบครัว |
|
ทะเบียนพินัยกรรม |
|
ทะเบียนชื่อบุคคล |
|
ทะเบียนศาลเจ้า |
|
ทะเบียนสัตว์พาหนะ |
|
ทะเบียนนิติกรรม |
|
ทะเบียนเกาะ |
|
ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน |
ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการสมรส
การสมรส |
|
เงื่อนไขแห่งกฎหมาย |
|
ความยินยอมทำได้ 3 วิธี |
|
การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย |
คู่สมรสจะต้องร้องขอจดทะเบียนตามแบบ คร.1 ต่อนายทะเบียน
|
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส |
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13
|
กรณีผู้เยาว์ต้องมีหลักฐานของผู้ให้ความยินยอม |
|
กรณีการสมรสระหว่างผู้มีสัญชาติไทยกับบุคคลต่างด้าว |
โดยถือปฏิบัติตามหนังสือ ที่ มท 0310.2/ว 1170 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ดังนี้
|
การสิ้นสุดของการสมรสด้วยเหตุ 3 ประการ |
|
ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการหย่า
วิธีที่1 การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คือการที่สามี ภรรยาตกลงที่จะทำการหย่าต้องทำเป็นหนังสือ (สัญญาการหย่า) และมีพยานลงลายมือชื่อ อย่างน้อย 2 คนและร้องขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ถ้าไม่มีหนังสือหย่ามาแสดง นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนหย่าให้ การหย่าโดยความยินยอมทำได้ 2 แนวทาง คือ
- การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
- การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
วิธีที่2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เป็นกรณีที่สามีภรรยาไม่สามารถตกลงกันได้ จึงต้องฟ้องหย่าต่อศาล โดยมีสาเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓
ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการรับรองบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตร มี 3 วิธี
วิธีที่ 1 การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน
- บิดายื่นคำร้อง (คร.1) ต่อนายทะเบียน
- นำมารดาเด็กและเด็กมาแสดงตนว่ายินยอมหรือไม่
- หากมารดาเด็กและเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอม ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็ก และมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่มาให้ความยินยอม ภายใน 60 วัน นับแต่วันแจ้ง ให้สันนิษฐานว่าไม่ยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาอยู่ต่างประเทศ ขยายเวลาเป็น 180 วัน
- กรณีเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่ อาจให้ความยินยอม ต้องมีคำพิพากษาของศาล
วิธีที่ 2 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดไว้ว่าในกรณีที่มีผู้ร้องขอนายทะเบียน จะออกไป จดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนก็ได้ โดยเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 20 บาท และให้ผู้ขอจดจัดพาหนะให้ ถ้าผู้ขอไม่จัดพาหนะให้ ผู้ขอต้องชดใช้ค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียนตามสมควร
วิธีที่ 3 การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๔๗๘ กำหนดการจดทะเบียนวิธีนี้ไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้ทำได้ให้นายทะเบียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียม รายละ 1 บาท ป.พ.พ มาตรา 1559 บัญญัติว่า “เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้”การพิจารณาการให้ความยินยอมของเด็ก
ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ซึ่งไม่บรรลุนิติภาวะ (พจนานุกรมฯ พ.ศ.2542)
ผู้เยาว์ไร้เดียงสา หมายถึง เด็กซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ และไม่รู้ผิด รู้ชอบ ตามปกติสามัญ
ฉะนั้น นายทะเบียนจะต้องพิจารณาถึงความสามารถของเด็กในการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันระหว่างนายทะเบียนกับเด็กเกี่ยวกับรู้ผิดรู้ชอบตามปกติสามัญ ตามข้อเท็จจริงแต่ละราย มิต้องคำนึงถึงอายุทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ. ๒๕๑๙ และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10) พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นกฎหมายแม่บทที่จะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ส่วน พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ และพ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นกฎหมาย ที่กำหนดเงื่อนไข และวิธีการรับเด็กซึ่งเป็นผู้เยาว์ เป็นบุตรบุญธรรม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ และเป็นการป้องกัน การค้าเด็กในรูปการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
1.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้อง (ค.ร. 13) ต่อนายทะเบียนนายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร. 14 เมื่อผู้ร้องได้ให้ถ้อยคำว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายนายทะเบียนสำเนา ค.ร. 14 โดยใช้แบบ ค.ร. 15 ส่งนายทะเบียนกลาง
2.การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้ยื่นคำร้องตามแบบ บ.ธ.1 ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม(กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) สำหรับในเขตกทม. ต่างจังหวัดยื่นแบบ น.ธ.1 ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือ ที่ทำการพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจยินยอม (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม. 20)อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะพิจารณาสั่งให้ ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนำเด็กไปทดลองเลี้ยงดู ไม่น้อยกว่า 6 เดือน (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ม.23 โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดู และตรวจเยี่ยมผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่ร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม หรือเป็นบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่ต้องทดลองเลี้ยงดู (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2533 ม.19 วรรค 2)เมื่อคณะกรรมการทดลองเลี้ยงดูอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่นคำร้อง(ค.ร. 13) ขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำอนุมัติ มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ นายทะเบียนตรวจสอบ
คุณสมบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย (ม.1598/20)นายทะเบียนจดทะเบียนให้ตามแบบ ค.ร.14 และสำเนาโดยใช้แบบ ค.ร.15 ส่งนายทะเบียนกลาง
กรณีเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม ไร้เดียงสา และบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมได้ลงนามแสดงความยินยอมขณะที่ยื่นเรื่องราวตามแบบ บ.ธ.5 แล้ว บิดามารดาหรือผู้แทนฯ ไม่ต้องมาแสดงความยินยอมและลงนามในคำร้อง (ค.ร.13) อีก (น.ส.ที่ มท.0402/ว ลว.12 ธค. 29 ข้อ2)
ผลที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
บุตรบุญธรรมมีสิทธ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครอง ให้ความอุปการะเลี้ยงดูและถือว่าบุตรบุญธรรม เป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันที่จดทะเบียนบิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองแต่วันจดทะเบียน แต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดา และบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมาทะเบียนการเลิกรับบุตรบุญธรรม
ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม
- จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
- โดยคำพิพากษาของศาล
การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันระหว่างผู้รับ บุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
- บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ของบุตรบุญธรรมก่อนหรือได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของบุตรบุญธรรมก่อน หรือได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดา เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ศาลมีคำสั่งให้เลิกรับบุตรบุญธรรม ม. 1598/31
ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนฐานะของภริยา
หลักเกณฑ์การบันทึกฐานะของภรรยา มีดังนี้
- ต้องเป็นสามีภรรยา และสมรสก่อนการใช้ ป.พ.พ. บรรพ ๕ คือ ก่อน 1 ต.ค. 2478
- บันทึกได้ 2 ฐานะเท่านั้นคือ เอกภริยา บันทึกได้เพียงคนเดียว และอนุภริยา บันทึกได้หลายคน
- รับบันทึกเฉพาะสามีภรรยาที่มาร้องขอให้บันทึก ภรรยาอื่นที่ไม่ได้ร้องขอจะไม่บันทึก
ทะเบียนครอบครัว - ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว
ทะเบียนพินัยกรรม
ขั้นตอนการปฏิบัติ
ยื่นคำร้อง | ยื่นคำร้อง พ.ก. 1 |
ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง |
|
ตรวจสอบคุณสมบัติ |
|
การเปลี่ยนชื่อตัวของบุคคลไม่บรรลุนิติภาวะ |
|
ป.พ.พ. บรรพ ๖ มรดก,กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในมาตรา ๑๖๗๒ แห่ง ป.พ.พ. และฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๐๓ระเบียบการทำพินัยกรรม การตัดทายาทโดยธรรมให้รับมรดก การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกและการสละมรดก พ.ศ. ๒๔๘๙
ทะเบียนชื่อบุคคล - การเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง
หลักเกณฑ์ |
|
เอกสาร / หลักฐาน |
|
ขั้นตอนดำเนินการ |
|
การเปลี่ยนชื่อตัวของบุคคลไม่บรรลุนิติภาวะ |
|
ทะเบียนชื่อบุคคล - การจดทะเบียนชื่อสกุล
หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ |
|
เอกสารที่ใช้ |
|
ขั้นตอนการดำเนินงาน |
|
ทะเบียนชื่อบุคคล - การขอร่วมใช้ชื่อสกุล
เอกสารที่ใช้สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล |
|
เอกสารที่ใช้สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล |
|
ขั้นตอนการดำเนินงาน |
|
ทะเบียนศาลเจ้า
การอุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า เมื่อมีผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตน ซึ่งมีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้ว หรือ ที่ดินแห่งอื่นให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้า มีขั้นตอนต้องปฏิบัติผู้ประสงค์จะอุทิศที่ดินของตนให้เป็นทรัพย์สินของศาลเจ้าให้ยื่นเรื่องราวแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์ อักษรต่อปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ นายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขต ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้
หลักฐาน |
|
จังหวัด อำเภอ สำนักงานเขต ปฏิบัติดังนี้ |
|
ทะเบียนสัตว์พาหนะ
สัตว์ที่อยู่ในเกณฑ์ ต้องทำ ตั๋วรูปพรรณ |
สัตว์ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องทำตั๋วรูปพรรณข้างต้น เจ้าของจะขอจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณก็ได้ เมื่อเจ้าของสัตว์ มีสัตว์เกิดใหม่หรือนำมาจากต่างท้องที่ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ หรือได้เป็นเจ้าของสัตว์ โดยประการอื่น ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน เพื่อลงบัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) ไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อสัตว์อยู่ในเกณฑ์ทำตั๋วรูปพรรณ ก็ใช้บัญชีสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำตั๋วรูปพรรณ (ส.พ.19) เป็นหลักฐาน ประกอบในการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณต่อไป |
พื้นฐานทางกฎหมายและระเบียบ |
|
การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ |
|
การย้ายสัตว์พาหนะ |
|
การจดทะเบียนโอนสัตว์พาหนะ |
|
ทะเบียนนิติกรรม
งานทะเบียนนิติกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้แก่การทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ.ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังหาริมทรัพย์บางประเภท คือ
- เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6–20 ตัน
- เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5–20 ตัน
- แพและสัตว์พาหนะ
ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานใดรับผิดชอบดำเนินการโดยเฉพาะ ได้แก่ การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ และจำนอง ให้จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (อำเภอ)
กฎหมายและระเบียบ- ป.พ.พ. บรรพ ๓ และ บรรพ ๔
- พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗
- พ.ร.บ. เรือสยาม พ.ศ. ๒๔๘๑ (ม.๑๒๒)
- พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำสยาม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๘๑
- พ.ร.บ. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมอำเภอ พ.ศ. ๒๕๐๓
- ระเบียบการทำและการจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์บางอย่างตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์แนวทางในการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงาน
- ตาม พ.ร.บ.เรือสยาม พ.ศ.๒๔๘๑ ได้กำหนดขนาดของเรือที่ต้องจดทะเบียน และทำนิติกรรมต่อกรมเจ้าท่าไว้สูงกว่า ม.๔๕๖ แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งยังคงต้องจดทะเบียน
- เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 20 ตัน
- เรือลำน้ำที่มิใช่เรือกลขนาดตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 50 ตัน
- เรือกลขนาดตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปแต่ต่ำกว่า 10 ตัน รวมทั้งเรือกลบางชนิด แม้จะมีขนาดเกินกว่า 10 ตัน แต่มิได้มีไว้
- เพื่อการค้าในน่านน้ำหรือการประมง
- การซื้อขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน และให้
- เรือและแพ ให้จดข้อความในสัญญาลงทะเบียนนิติกรรม แล้วบันทึกในต้นขั้วสัญญา และตั๋วสัญญา (แบบ ปค.34) แล้วให้นายอำเภอลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ทะเบียนเกาะ
กระทรวงมหาดไทยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาว่าสภาพเกาะมีลักษณะ 3 ประการ
- เป็นเกาะตามความเข้าใจของคนทั่วไป
- ส่วนมากเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
- เป็นเกาะถาวรมีสภาพเป็นเกาะมานาน และจะคงสภาพเป็นเกาะอยู่อีกต่อไปตาม ม.๑๓๐๙ แห่ง ป.พ.พ. บรรพ ๔ ได้บัญญัติไว้ว่า “เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือในทางน้ำ หรือในเขตน่านน้ำของ ประเทศก็ดี และท้องน้ำที่ตื้นเขินขึ้นก็ดี เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน” ผลที่ตามมา คือ
- จะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
- จะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้ และ
- จะยึดทรัพย์ของแผ่นดินไม่ได้
- ป.พ.พ. บรรพ ๑ ทรัพย์สิน
- ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗ (ม.๑ และ ม.๘)
- พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ (ม.๑๒๒)
- พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.๒๔๗๘ (ม.๔ และ ม.๕)
- คำสั่งให้ทบวงการเมืองอื่นมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครอง ป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๗๓๐๗/๒๔๙๘ ลว. ๒๗ ส.ค. ๒๔๙๘ เรื่องการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน
แบ่งสุสานและฌาปนสถานแบ่งเป็น 2 ประเภท |
|
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
|
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต |
|
แบบพิมพ์ มี 7 แบบ |
|
การล้างป่าช้า | มีผู้ประสงค์จะทำการล้างป่าช้า ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งฉบับ 4 พ.ศ. 2545) ข้อ 69 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิมถ้าศพนั้นอยู่ในท้องที่ใด ให้แจ้งของอนุญาตต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น โดยให้เรียกมรณบัตรหรือใบรับแจ้งการตายจากผู้แจ้งแล้วบันทึกการอนุญาตได้”และเมื่อจะทำการเผาก็ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สุสานฯ |
บทลงโทษ |
1.ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (ห้ามผู้ใดจัดตั้งสุสานฯ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) มาตรา 7 วรรคหนึ่ง(เมื่อได้จัดตั้งสุสานฯ แล้วห้ามมิให้ดำเนินการเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือ มาตรา 10 (ห้ามมิให้ผู้ใด เก็บ ฝัง หรือเผาศพในสถานที่อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น) หรือผู้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงสุสานฯ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษไม่เกิน สองพันบาท
2.ผู้ใดขัดขวาง หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เข้าไปในบริเวณสุสานฯ ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท |