บริการประชาชน

ทะเบียนราษฎร์

การขอเลขหมายประจำบ้านกรณีบ้านปลูกใหม่

หลักเกณฑ์ ให้เจ้าบ้านผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างแจ้งต่อนายทะเบียนสำนักงานเขตท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่เพื่อขอเลขหมายประจำบ้านภายใน 15 วันนับจากวันที่ปลูกสร้างบ้านเสร็จหากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารประกอบ
  • บัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีมอบหมายเรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมาย
  • ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร หรือเอกสารอื่นแล้วแต่กรณี
  • ใบคำร้องตามแบบ ท.ร. 900

การขอเลขหมายประจำบ้านกรณีการขอแยกเลขหมายประจำบ้าน ( เพิ่ม )

หลักเกณฑ์ ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน สำนักงานเขตท้องที่
เอกสารประกอบ
  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • หนังสือแสดงกรรมสิทธิ (ถ้ามี)

การขอจำหน่ายบ้านหรือรื้อบ้าน

หลักเกณฑ์ ให้เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน15วันนับจากวันรื้อเสร็จ หากฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารประกอบ
  • บัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีมอบหมายเรียกบัตรประจำตัวผู้รับมอบหมายและหนังสือมอบหมาย
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • ใบคำร้องตามแบบ ท.ร. 97 ค.

การขอจัดทำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกรณี ชำรุด / สูญหาย / ถูกทำลาย

หลักเกณฑ์
เอกสารประกอบ
  • บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน
  • กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย

การแจ้งการเกิด

หลักเกณฑ์ เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งชื่อคนเกิดให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้งการเกิดคนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้านภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิดคนเกิดนอกบ้านให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเกิด
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
  • หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล
ขั้นตอนในการติดต่อ
  • ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด
  • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้าน และลงรายการในสูติบัตรแล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านแล้วมอบสูติบัตรตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับ ผู้แจ้ง

การแจ้งเกิดเกินกำหนด

หลักเกณฑ์ เป็นการแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ (15 วัน) ตามกฎหมายมีบทกำหนดโทษ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา
  • พยานบุคคลที่ให้การรับรอง และบัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่ายของบุคคลที่ขอแจ้งการเกิด 1 รูป (กรณีอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์)
  • หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล
ขั้นตอนในการติดต่อ
  • ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิด
  • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานแล้วเปรียบเทียบคดีความผิดและสอบสวนผู้แจ้ง บิดามารดาให้ทราบสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิดภายในกำหนด ในกรณีบิดาหรือมารดาไม่อาจมาให้ถ้อยคำในการสอบสวนได้ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใด นายทะเบียนจะบันทึกถึงสาเหตุดังกล่าวไว้
  • นายทะเบียนนำเสนอนายอำเภอแห่งท้องที่พิจารณาอนุมัติออกสูติบัตร และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

การแจ้งการตาย

หลักเกณฑ์
  • คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ
  • คนตายนอกบ้าน ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ กรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจก็ได้ กำหนดเวลาให้แจ้งตาม (1) และ (2) ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ หากไม่ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
  • หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี) /หนังสือรับแจ้งตำรวจ
  • ใบรับแจ้งจากผู้ใหญ่บ้าน ท.ร.4 ตอนหน้า(ถ้ามี)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
ขั้นตอนในการติดต่อ
  • ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณะบัตร
  • จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า "ตาย" สีแดง ไว้หน้ารายการคนตาย
  • มอบมรณะบัตร ตอนที่ 1 สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนคืนผู้แจ้งแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้านภายในสิบห้าวันนับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ

การแจ้งย้ายเข้า

หลักเกณฑ์ เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว
ขั้นตอนในการติดต่อ
  • ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง

การแจ้งย้ายออก

หลักเกณฑ์ เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง
ขั้นตอนในการติดต่อ
  • ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ถึงแม้ว่าเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายออกให้ได้ผู้ที่ย้ายอยู่สามารถขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้)
  • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และจำหน่ายรายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงิน ไว้หน้ารายการฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด
  • นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป

การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

หลักเกณฑ์ การแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง หมายความว่า การแจ้งการย้ายที่อยู่โดยผู้ขอแจ้งย้าย สามารถไปขอแจ้งย้ายออก และขอแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่ โดยไม่ต้อง เดินทางกลับไปขอแจ้งย้ายออก ณ สำนักทะเบียนเดิมที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจากทะเบียนบ้าน
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย พร้อมสำเนาบัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้
  • เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
  • หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไป ดำเนินการแจ้งย้ายได้)
  • หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่บัตรฯ พร้อมด้วยสำเนาบัตรฯ ที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ (กรณีผู้แจ้งย้ายที่อยู่มอบผู้อื่นมาดำเนินการแทนผู้รับมอบหมาย 1 คน ควรดำเนินการแทนผู้ประสงค์ จะแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางได้ไม่เกิน 3 คน และทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)
ขั้นตอนในการติดต่อ
  • ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่(ท.ร.6 ตอน 1) โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อในช่องผู้แจ้งย้ายออก และช่องผู้แจ้งย้ายเข้าแล้วคืนทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรฯ แก่ผู้แจ้ง
  • * เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท *
  • ให้ผู้แจ้งย้ายเข้าแจ้งเจ้าบ้านที่ย้ายออกนำสำเนา ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านมาดำเนินการจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน ณ สำนักทะเบียนต้นทาง ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายที่อยู่

การแจ้งย้ายออกและย้ายเข้าในเขตเดียวกัน

  • บัตรประจำตัวเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายออก กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
  • บัตรประจำตัวเจ้าบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะแจ้งย้ายเข้า หากบ้านหลังดังกล่าวยังไม่มีทะเบียนบ้านให้นำหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองมาแสดง กรณีมอบหมาย บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย

การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง (เฉพาะกรณีมีหลักฐาน)

เอกสารประกอบ
  • บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้แจ้งเป็นบุคคลเดียวกันกับรายการบุคคลที่จะแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
  • กรณีรายการบุคคลที่จะย้ายออกเป็นผู้เยาว์ให้บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง เป็นผู้แจ้งย้ายโดยเรียกบัตรประจำตัวผู้แจ้ง และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

หลักเกณฑ์ ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ขอเพิ่มชื่อ บิดา หรือมารดา กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือผู้อุปการะเลี้ยงดู กรณีเด็กอนาถา
กรณี
  • กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2499 (จะต้องเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499)
  • กรณีเพิ่มชื่อตามเอกสารทะเบียนราษฎรแบบเดิมที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
  • กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับเข้ามา ในประเทศไทย ทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนไทย และไม่มีหลักฐาน
  • กรณีอ้างว่าเป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
  • กรณีเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะของบุคคล หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
  • กรณีบุคคลที่ลงรายการในทะเบียนบ้านว่า "ตาย" หรือ "จำหน่าย" มาขอเพิ่มชื่อ
  • กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  • กรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
  • กรณีที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้รับสัญชาติไทย
  • กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง รวมทั้งผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย
สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน
สถานที่ยื่นคำร้อง (ข้อยกเว้น)
  • กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
  • กรณีเพิ่มชื่อตามแบบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
  • กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ครั้งสุดท้าย
  • กรณีเพิ่มชื่อของผู้ที่ลงรายการจำหน่ายหรือตายไว้แล้ว ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นเคยมีชื่อ ในทะเบียนบ้านก่อนถูกจำหน่ายรายการ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อกรณีมีหลักฐานมาแสดง
  • บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • รูปถ่ายผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
  • ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปีพ.ศ. 2499 , พ.ศ. 2515 หรือ พ.ศ. 2526
  • ใบสูติบัตร (แบบเดิมซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (แบบเดิมจึงไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อกรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง
  • บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • รูปถ่ายของผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
  • บัตรประจำตัวบิดา มารดา (ถ้ามี)
  • บัตรประจำตัวพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
  • เอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) ส.ด.9 (ถ้ามี)
ขั้นตอนในการติดต่อ
  • การยื่นเอกสารและหลักฐาน
    • กรณีมีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องขอเพิ่มชื่อปรากฎรายการในเอกสารนั้น ๆ
    • กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
  • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน
  • ตรวจสอบรายการในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
  • สอบสวนพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
  • บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อ ผู้แจ้ง และพยานบุคคลที่ให้การรับรองและให้บุคคลดังกล่าว ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือตามแบบ ท.ร.25
  • รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
  • คืนหลักฐานให้ผู้แจ้ง
กลับไปหน้าก่อน
จัดระเบียบสังคม
ดาวน์โหลด

นายวีกิจ มานะโรจน์กิจ

นายอำเภอบางละมุง
webinmotion.nl
Created by
Webinmotion
สงวนลิขสิทธิ์ © 2013 ที่ว่าการอำเภอบางละมุง