การขออนุญาตตั้ง สถานบริการ |
|
พระราชบัญญัติสถานบริการ
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้สถานบริการ หมายความว่า สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้า ดังต่อไปนี้
- สถานเต้นรำรำวงหรือรองเง็ง เป็นปกติธุระที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ
- สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่น จำหน่ายและบริการ โดยผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า
- สถานที่อาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า
- สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายหรือให้บริการ โดยมีรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
- มีดนตรี การแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง และยินยอม หรือปล่อยปละละเลยให้นักร้อง นักแสดง หรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า
- มีการจัดอุปกรณ์การร้องเพลงประกอบดนตรีให้แก่ลูกค้า โดยจัดให้มีผู้บริการขับร้องเพลงกับลูกค้า หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้พนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้า
- มีการเต้นหรือยินยอมให้มีการเต้น หรือจัดให้มีการแสดงเต้น เช่น การเต้นบนเวทีหรือการเต้นบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม
- มีลักษณะของสถานที่ การจัดแสงหรือเสียง หรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- สถานที่ที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 นาฬิกา
- สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลักเกณฑ์การตั้งสถานบริการ
หลักเกณฑ์การตั้งสถานบริการ |
อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งเป็นสถานบริการต้อง
- ไม่อยู่ใกล้ชิดวัดสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา โรงเรียนหรือสถานศึกษา โรงพยาบาลสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สโมสรเยาวชน หรือหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ในขนาดที่เห็นได้ว่าจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สถานที่ดังกล่าวแล้ว
- ไม่อยู่ในย่านที่ประชาชนอยู่อาศัย อันจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
- มีทางถ่ายเทอากาศสะดวก
|
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ |
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา ( ที่มีรูปถ่ายติด )
- ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง ของบิดา ของมารดา ( ถ้ามี )
- กรณีผู้ขอมีบัตรไม่มีหลักฐานสูติบัตร ให้บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านมารับรอง
- กรณีที่ต้องใช้ผู้รับรองให้ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวมาแสดงด้วย
- กรณีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าวให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดาและมารดามาแสดงด้วย
|
กรณีเกินกำหนด |
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สูติบัตรฉบับจริง หรือหลักฐานการศึกษา ( ที่มีรูปถ่ายติด )
- ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวของตนเอง ของบิดา ของมารดา ( ถ้ามี )
- บิดา มารดา หรือเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมารับรอง
- ผู้รับรองนำบัตรประจำตัวมาแสดงด้วย
|
ผู้มีอำนาจอนุญาตหรือรับแจ้งการตั้งสถานบริการ
ผู้มีอำนาจอนุญาตหรือรับแจ้งการตั้งสถานบริการ (พนักงานเจ้าหน้าที่) จังหวัดต่าง ๆ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1)(2)(3) ภายใน 90 วัน , รับทราบการตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(4), พิจารณาต่ออายุใบอนุญาต พิจารณาการย้าย แก้ไข เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสถานบริการ สั่งพักใช้ใบอนุญาต เพิกถอน , สั่งผู้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(4) หยุดกิจการครั้งละไม่เกิน 30 < วัน
หลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับสถานบริการที่ควรทราบ
การขอเปลี่ยนผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ |
อาคารหรือสถานที่ที่ขออนุญาตตั้งเป็นสถานบริการต้อง
- การขอเปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาตถือว่าเป็นการโอนใบอนุญาตกฎหมายมิได้กำหนดให้โอนแก่กันได้
- กรณีเป็นนิติบุคคลขอเปลี่ยนผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลให้อยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
|
การย้าย แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมสถานบริการ |
- ห้ามย้ายสถานบริการ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย เช่น ไฟไหม้ และต้องย้ายภายในจังหวัดเดียวกัน
- ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุผลจำเป็น
- ต่อเติมให้กว้างขวางได้ แต่สำหรับกรณีเพิ่มห้องเพื่อปรับปรุงกิจการให้อยู่ในดุลยพินิจของพนักงาน เจ้าหน้าที่
|
การโอนกิจการ |
- ถือเป็นการอนุญาตให้ มีนโยบายไม่อนุญาต เว้นแต่โอนโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ซึ่งศาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต
- กรณีที่มีการนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลและคู่กรณีทำสัญญาประนีประนอมยอมความ กัน พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณา และรวบรวมหลักฐานพร้อมเหตุผลเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอนุญาต เป็นราย ๆ ไป
|
อัตราค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตเกี่ยวกับสถานบริการ
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการเก็บเป็นรายปีดังนี้
1. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา3 (1) |
|
(ก) |
พื้นที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 10,000 บาท |
|
(ข) |
พื้นที่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร |
|
|
|
แต่ไม่เกินสามร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 30,000 บาท |
|
(ค) |
พื้นที่เกินสามร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 50,000 บาท |
2. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(2) |
|
(ก) |
พื้นที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 30,000 บาท |
|
(ข) |
พื้นที่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร |
|
|
|
แต่ไม่เกินสามร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 40,000 บาท |
|
(ค) |
พื้นที่เกินสามร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 50,000 บาท |
3. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(3) |
|
(ก) |
ห้องบริการไม่เกินสามสิบห้อง |
ฉบับละ 30,000 บาท |
|
(ข) |
ห้องบริการเกินสามสิบห้อง |
|
|
|
แต่ไม่เกินห้าสิบห้อง |
ฉบับละ 40,000 บาท |
|
(ค) |
ห้องบริการเกินห้าสิบห้อง |
ฉบับละ 50,000 บาท |
4. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการรูปแบบอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 3(4) |
|
(ก) |
พื้นที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 10,000 บาท |
|
(ข) |
พื้นที่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร |
|
|
|
แต่ไม่เกินสามร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 30,000 บาท |
|
(ค) |
พื้นที่เกินสามร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 50,000 บาท |
5. ใบอนุญาตตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(5) |
|
(ก) |
พื้นที่ไม่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 10,000 บาท |
|
(ข) |
พื้นที่เกินหนึ่งร้อยตารางเมตร |
|
|
|
แต่ไม่เกินสามร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 30,000 บาท |
|
(ค) |
พื้นที่เกินสามร้อยตารางเมตร |
ฉบับละ 50,000 บาท |
6.ใบแทนใบอนุญาตตั้งสถานบริการ |
ฉบับละ 1,000 บาท |
7. การต่ออายุใบอนุญาตครั้งละ หนึ่งในห้าของค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตั้งสถานบริการแต่ละประเภท |
ผู้มีอำนาจตรวจตราควบคุมดูแลสถานบริการ
นายอำเภอ และตำรวจตั้งแต่ชั้นสารวัตรขึ้นไป มีหน้าที่ในการตรวจตรา ควบคุมดูแลให้สถานบริการดำเนินกิจการเป็นไปโดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี กรณีที่มีคำสั่งปิดสถานบริการให้นายอำเภอ แจ้งคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตทราบเป็นหนังสือ และปิดสำเนาหนังสือคำสั่งไว้ที่หน้าสถานบริการ
กลับไปหน้าก่อน